Wellington College International School Bangkok - Top Main Banner every page British Chamber of Commerce Thailand - Top Main Banner every page

English English ไทย ไทย  

Introduction (Thai)


สภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย (BCCT) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2489 เป็นสภาหอการค้าต่างประเทศที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นหอการค้าจากประเทศยุโรปที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ BCCT ยังเป็นสภาหอการค้าอังกฤษที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียอีกด้วย เมื่อแรกก่อตั้งมีสมาชิกสัญชาติอังกฤษจำนวน 17 รายและสมาชิกสมทบอีก 3 ราย

ปัจจุบันนี้ BCCT มีจำนวนสมาชิกทั้งหมดมากกว่า 580 บริษัท โดยมาจากธุรกิจหลากหลายสาขาในประเทศไทย เราเปิดกว้างสำหรับบริษัททุกสัญชาติไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก และในระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมา จำนวนสมาชิกของเราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 65

ภารกิจของเราดังที่แถลงไว้ได้แก่:-

“เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจของอังกฤษในประเทศไทย และสนับสนุนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยตรงในฐานะของ ‘พันธมิตรที่ยั่งยืน”

BCCT ซึ่งดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่ประจำ 6 คน ภายใต้การนำของเกร็ก วัตกินส์ ผู้อำนวยการบริหาร มีเงินทุนหมุนเวียนของตน โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลหรือหน่วยงานอื่นของประเทศอังกฤษหรือประเทศไทย รายได้หลักของเรามาจากค่าธรรมเนียมรายปีของสมาชิก นอกจากนี้ยังมีรายได้จากการจัดกิจกรรมต่างๆ กว่า 100 กิจกรรมตลอดทั้งปี.


คณะกรรมการบริหารประกอบด้วยตัวแทน 14 จากสมาชิกของ BCCT โดยประธานได้แก่มิสเตอร์วิษณุ โมฮัน ประธานกรรมการบริหารธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ นครธน มหาชน มิสเตอร์วิษณุทำงานโดยได้รับคำปรึกษาจากคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้น ซึ่งจะทำหน้าที่ประสานงานและติดต่อกับสมาชิก ตลอดจนองค์กรภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก เพื่อทราบความคิดเห็นและรายงานถึงการพัฒนาและโอกาสทางธุรกิจ คณะกรรมการบริหารจะจัดทำรายงานประจำเดือนเกี่ยวกับภาคธุรกิจต่างๆ เพื่อส่งให้แก่ สมาชิกของ BCCT


BCCT เป็นหนึ่งในสมาชิกของคณะกรรมการการค้าแห่งประเทศไทย และยังเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของสมาชิกในคณะกรรมการประสานงานร่วมสภาหอการค้าต่างประเทศ (Joint Foreign Chambers of Commerce Coordinating Committee) และสภาหอการค้าประเทศยุโรปในประเทศไทย นอกจากนี้ BCCT ยังเป็นสมาชิกของ Britain in Asia Pacific ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าอังกฤษและสมาคมธุรกิจจำนวน 23 แห่งในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค อันรวมถึงประเทศออสเตรเลียและประเทศจีนด้วย


คณะกรรมการโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมชายฝั่งตะวันออกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นช่องทางในการติดต่อประสานความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และบริษัทที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมทางภาคตะวันออกของประเทศไทย